ตุ๊กตาผีสิง "แอนนาเบล" (ANNABELLE DOLL)
ในเมืองที่สงบเงียบที่มีชื่อว่า “มอลโรลล์” (Monroe) รัฐคอนเน็คติกัล (Connecticut) มีพิพิธภัณฑ์แห่งหนึ่ง “วอเรน ออคคอล มิวเซียม” (Warren occult museum) ซึ่งเป็นสถานที่เก็บสิ่งของที่ต้องอาถรรพ์และสยองขวัญมากมายอยู่ในที่แห่งนี้ แต่มีสิ่งเดียวที่ทรงพลังในการฆ่าที่สุดเห็นจะไม่พ้น “ตุ๊กตาแอนนาเบล”
ปี ค.ศ.1970 หญิงสาวนามว่า “ดอนน่า” ที่อาศัยอยู่ในอพาร์ทเม้นกับเพื่อนที่ชื่อว่า “แอนจี้” ได้รับตุ๊กตาในวันครบรอบคล้ายวันเกิดปีที่ยี่สิบแปด เธอตั้งชื่อมันว่า “แอนนาเบล” ซึ่งมันจะถูกวางไว้บนเตียงอยู่ตลอดเวลา แต่กระนั้นหลายวันที่ดอนน่าสังเกตการณ์เห็นสิ่งผิดปกติเมื่อตุ๊กตาเปลี่ยนท่าทางในการนอนไปจากเดิม ทั้งมีการไขว้ขาหรือตะแคงนอน แต่จะเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเรื่องขนลุกต่อมา เมื่อเธอพบข้อความต่างๆ เขียนด้วยลายมือว่า “ช่วยด้วย” หรือ “ช่วยพวกเราด้วย” ต่อมาเมื่อมีเรื่องแปลกประหลาดเกิดขึ้น เธอจึงเรียกให้คนทรงมาตรวจสอบเรื่องเหล่านี้ ซึ่งคำตอบที่เธอได้รับก็คือ มีผู้หญิงคนหนึ่งถูกฆ่าตายในห้องนี้และวิญญาณเธอก็ได้สิงเข้าไปยังตุ๊กตาตัวนี้แล้ว ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาพวกเธอจึงพยายามปฏิบัติเอาใจตุ๊กตาตัวนี้อย่างดีเรื่อยมา
แต่ไม่ใช่ทุกคนที่จะเชื่อในสิ่งที่พวกเธอชื่อ เมื่อเพื่อนชาย “ลูอิส” เห็นว่าสิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องตลกสำหรับเขา และก็หยอกล้อเล่นกับตุ๊กตาอยู่บ่อยครั้ง
จนกระทั่งในวันหนึ่งขณะที่เขากำลังงีบหลับอยู่ในห้องนั้น ลูอิสก็ถูกบีบคอในขณะที่หลับ เมื่อเขาก็ตื่นขึ้นมาพร้อมกับพบว่ามีรอยมือขนาดเล็กรอบคอของเขา
ในที่สุดดอนน่าจึงต้องยินยอมยกตุ๊กตาให้ “เอ็ด วอเรน” (Ed Warren) กับ “ลอเลน วอเรน” ( Lorraine Warren) สองสามีภรรยาที่เป็นเจ้าของพิพิธภัณฑ์วอเรน ซึ่งแรกพบตุ๊กตาที่สองสามีภรรยามาเจอ พวกเขามีความเห็นที่แตกต่างออกไปจากคนทรงก่อนหน้านี้ เพราะพวกเขาเชื่อว่าตุ๊กตามีปีศาจสิงสู่อยู่ อย่างไรก็ดีพวกเขาก็ยินยอมที่จะรับอนาเบลล์กลับไปด้วย แต่ขณะที่ทั้งสองกำลังขับรถกลับ ระหว่างทางรถของเขาได้เสียหลักจนเกือบเป็นที่มาของความหายนะ ซึ่งเอ็ดต้องรีบจอดรอดและพรมน้ำมนต์ใส่ตุ๊กตาเพื่อให้มันสงบลง
ไม่สิ้นสุดเพียงเท่านั้น เมื่อมีนักท่องเที่ยวที่มายังพิพิธภัณฑ์วอเรน ชายผู้หนึ่งได้ท้าทายให้อนาเบลล์แสดงอำนาจต่อหน้าเขา ซึ่งเมื่อชายผู้นั้นกลับออกไปไม่ถึงสามชั่วโมง เขาก็มอเตอร์ไซด์คว่ำเสียชีวิตแล้ว
สำหรับใครที่อยากเยี่ยมชมเธอ อนาเบลล์ก็ยังคงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์วอเรนจนถึงทุกวันนี้เรื่อยมา