ชีวกลศาสตร์การกีฬา เป็นการนำหลักวิชาทางกลศาสตร์ด้านต่างๆเข้ามาประประยุกต์ใช้ในการฝึกกีฬา เพื่อแก้ไข ปรับปรุงข้อบกพร่อง การพัฒนาวัสดุอุปกรณ์ทางการกีฬา ตลอดจนการป้องกันการบาดเจ็บจากการกีฬา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการแข่งขัน
เป้าหมายของชีวกลศาสตร์การกีฬา เพื่อพัฒนาความสามารถทางการกีฬาของนักกีฬา ด้วย Technique Improvement ,Equipment Improvement และ Training Improvement และเพื่อ ป้องกันการบาดเจ็บและฟื้นฟูสมรรถภาพหลังจากการบาดเจ็บ โดย Technique Reduce Injury และ Equipment Design Reduce Injury
พื้นฐานของกลศาสตร์ประกอบด้วย สภาวะนิ่ง (static) เป็นภาวะที่วัตถุอยู่นิ่ง และภาวะการเคลื่อนที่ (dynamic) เป็นภาวะที่วัตถุเคลื่อนที่ แบ่งเป็น 2 แบบ คือ คิเนเมติกส์ ( kinematics) และคิเนเมติกส์ ( kinetics)
ความรู้พื้นฐานทางชีวกลศาสตร์ประกอบด้วย แรง มวล น้ำหนัก กฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน งาน กำลังหรือพลัง พลังงาน โมเมนตัม แรงดล จุดศูนย์ถ่วง
ขั้นตอนการวิเคราะห์ทักษะประกอบด้วย ขั้นสังเกตด้วยตาเปล่า (Noncinematographic analysis) ขั้นใช้อุปกรณ์ (Basic cinematographic analysis) ขั้นใช้อุปกรณ์ขั้นสูง (Intermediate cinematographic analysis) และขั้นวิจัย (Biomechanics Research)